วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Le conditionnel présent




  1. Le conditionnel présent
    รูปแบบ (la forme) :
    » เราสร้าง conditionnel présent ด้วยแกนของ futur รวมกับลงท้ายของ imparfait : ais, ais, ait, ions, iez, aient.

    J'auraisTu auraisIl auraitNous aurionsVous auriezIls auraient
    Je seraisTu seraisIl seraitNous serionsVous seriezIls seraient
    การใช้ (l'emploi) :
    1. เพื่อแสดงความปรารถนา หรือ ความฝัน [คำกริยาที่มักใช้ได้แก่ : aimer, vouloir]
    - J'aimerais être hôtesse de l'air. [ฉันอยากจะเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน]
    - Je voudrais aller en France. [ฉันอยากไปฝรั่งเศส]
    2. เพื่อแสดงการขอร้อง หรือ ถามแบบสุภาพ [คำกริยาที่มักใช้ได้แก่ : pouvoir, vouloir]
    - Je voudrais un renseignement sur les horaires des trains en France. [ฉันอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับตารางเวลารถไฟในฝรั่งเศส]
    - Est-ce que je pourrais parler à Madame Sallanche s'il vous plaît ? [ผมขอพูดกับคุณซัลลองช์หน่อยครับ]
    - Pourriez-vous m'aider ? [คุณช่วยดิฉันหน่อยได้ไหมคะ]
    3. เพื่อให้คำแนะนำ หรือ ข้อเสนอแนะ [คำกริยาที่มักใช้ได้แก่ : devoir, faire mieux de, falloir]
    - Vous devriez donner plus de temps à vos études. [พวกเธอควรจะให้เวลากับการศึกษามากกว่านี้]
    - Tu ferais mieux de commencer tout de suite sans attendre. [เธอควรจะเริ่มทันทีโดยไม่ต้ี้องรอจะดีกว่า]
    - Il faudrait avoir les opinions des parents avant de se décider. [เราควรจะถามความเห็นของพ่อแม่ก่อนที่จะตัดสินใจ]
    4. ใช้ในประโยคสมมุติที่มีโอกาสเป็นไปได้น้อย หรือเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน :
    • Si + imparfait / conditionnel présent
    - Si j'étais riche, je ferais le tour du monde. [ถ้าฉันรวยฉันจะไปเที่ยวรอบโลก]
    - Que feriez-vous si vous gagniez le gros lot ? [คุณจะทำอะไรถ้าคุณถูกรางวัลใหญ่]
    • เราใช้ conditionnel présent กับ " au cas où " [= ในกรณีที่ ...] เพื่อบอกการสมมุติ หรือ การคาดคะเน
    - Prends du médicament avec toi au cas où tu serais malade. [เอายาติดตัวไปบ้างในกรณีที่เธออาจจะไม่สบาย]
    - Au cas où vous auriez besoin d'aide, téléphonez-moi. [ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ โปรดโทรมาหาผม]
    5. เพื่อบอกเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือ อาจเป็นไปได้
    - On pourrait aller au cinéma ce soir ! [คํ่านี้เราอาจจะไปดูภาพยนต์ก็ได้นะ่]
    - Le ciel est gris : il pourrait pleuvoir cette nuit. [ท้องฟ้าครึ้ม คืนนี้ฝนอาจจะตก]
    6. เพื่อให้ข้อมูล ข่าวสารที่ยังไม่ยืนยัน (ยังไม่แน่นอน) [มักจะใช้ในหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือ โทรทัศน์]
    - Le ministre de l'Éducation nationale supprimerait l'examen d'entrée à l'université. [รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาการจะยกเลิกการสอบเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย]
    - Le nouvel aéroport de Bangkok ouvrirait ses portes avant la fin 2005. [ท่าอากาศยานแห่งใหม่ของกรุงเทพฯคงจะเปิดบริการได้ก่อนสิ้นปี 2548]
    - Le naufrage aux Philippines aurait fait 200 victimes.[เรืออัปปางในฟิลิปปินคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิต 200 คน]
    7. เราใช้ conditionnel présent แทน futur และใช้ conditionnel passé แทน futur antérieur ในประโยค discours indirect เมื่อกริยาในประโยคแรกเป็นอดีต [passé composé, imparfait หรือ plus-que-parfait]
    - Il dit qu'il viendra. [เขาบอกว่าเขาจะมา]
    Il a dit qu'il viendrait. [เขาได้บอก(ไปแล้ว) ว่าเขาจะมา]
    - Elle promet qu'elle m'écrira dès qu'elle sera arrivée. [หล่อนสัญญาว่าจะเขียนมาหาฉันเมื่อไปถึงแล้ว]
    Elle avait promis qu'elle m'écrirait dès qu'elle serait arrivée. [หล่อนสัญญา(ไว้่ก่อนหน้าหน้านี้)ว่าจะเขียนมาหาฉันเมื่อไปถึงแล้ว]
    Le conditionnel passé
    รูปแบบ (la forme) :
    » เราสร้าง conditionnel passé โดยการใช้กริยาช่วย " avoir " หรือ " être " ในรูป conditionnel présent ตามด้วย participe passé ของกริยาที่ต้องการ :
    • Conditionnel passé = avoir หรือ être (conditionnel présent) + participe passé :
    กับกริยาช่วย avoir
    กับกริยาช่วย être
    J'aurais voulu ...Tu aurais dû ...Il aurait aimé ...Nous aurions fini ...Vous auriez commencé ...Ils auraient attendu ...
    Je serais allé(e) ...Tu serais venu(e) ... Il serait sorti ...Nous serions rentrés(es) ...Vous seriez parti(e)(s)(es) ...Ils se seraient dépêchés ...
    การใช้ (l'emploi) :
    1. เพื่อแสดงความเสียดาย, เสียใจ หรือ การตำหนิติเตียน กับเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้ว :
    - Elle aurait aimé apprendre l'allemand. [หล่อนอยากที่จะเรียภาษาเยอรมัน](เหตุการณ์ผ่านไปแล้ว และหล่อนก็ไม่ได้เรียน)
    - J'aurais voulu être steward dans une compagnie aérienne. [ฉันอยากเป็นสจ๊วตสายการบิน]
    - Tu aurais dû travailler davantage. [เธอน่าจะขยันกว่านี้]
    2. ใช้ในประโยคสมมุติในอดีตที่ไม่เป็นจริง หรือ ตรงข้ามกับความเป็นจริงในอดีต :
    • Si + plus-que-parfait / conditionnel passé :
    - Si j'avais su (que la fête allait être si ennuyeuse), je ne serais pas venu(e). [ถ้าฉันรู้ว่างานฉลองจะน่าเบื่อเช่นนี้ ฉันคงจะไม่มาหรอก]
    - Elle aurait pu continuer ses études à la faculté des lettres si elle avait travaillé plus dur et plus régulièrement. [หล่อนคงจะได้เรียนต่อในคณะอักษรศาสตร์แล้วถ้าหล่อนเรียนหนักและสมํ่าเสมอกว่านี้]
    3. เราใช้ conditionnel passé แทน futur antérieur ใน discours indirect เมื่อกริยาในประโยคแรกเป็นอดีต :
    - Il dit que quand tu arriveras, elle sera déjà rentrée. [เขาบอกว่ากว่าเธอจะมาถึง หล่อนก็กลับบ้านแล้ว]
    Il a dit que quand tu arriverais, elle serait déjà rentrée. [เขาได้บอก(ไปแล้ว)ว่ากว่าเธอจะมาถึง หล่อนก็กลับบ้านแล้ว]
    - "Quand tu viendras me chercher, je me serai déjà habillée et maquillée." ["ตอนเธอจะมารับฉัน ฉันก็จะสวมเสื้อและแต่งหน้าเรียบร้อยแล้ว"]
    Elle a dit à son ami que quand il viendrait la chercher, elle se serait déjà habillée et maquillée. [หล่อนบอกกับแฟนของหล่อนว่าตอนเขาจะมารับหล่อน หล่อนก็จะสวมเสื้อและแต่งหน้าเรียบร้อยแล้ว]

ไม่มีความคิดเห็น: